วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การแปลผลเลือดสำหรับการตรวจไวรัสตับอักเสบบี

การแแปรผลเลือด การตรวจไวรัสตับอักเสบ บี
HBsAg +
anti-HBc +
IgM anti-HBc +
anti-HBs -
แปลผล ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเฉียบพลัน




HBsAg +
anti-HBc +
IgM anti-HBc -
anti-HBs -
แปลผล ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง




HBsAg -
anti-HBc -
anti-HBs -
แปลผล ไม่ติดเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ


HBsAg -
anti-HBc +
anti-HBs +
แปลผล ไม่ติดเชื้อในปัจจุบัน แต่เคยติดเชื้อและหายแล้วและมีภูมิคุ้มกัน


HBsAg -
anti-HBc -
anti-HBs +
แปลผล ไม่ติดเชื้อในปัจจุบัน ไม่เคยติดเชื้อในอดีต แต่มีภูมิคุ้มกันแล้ว จากวัคซีน


HBsAg -
anti-HBc +
anti-HBs -
แปลผล การแปรผลไม่ชัดเจน อาจเพิ่งหายจากการติดเชื้อ


การอธิบายผลเลือดสำหรับการตรวจไวรัสตับอักเสบ บี

Hepatitis B surface antigen (HBsAg):
หากผลเป็นบวก + แสดงว่า อยู่ในภาวะติดเชื้อเรื้อรัง หรือเฉียบพลันก็ได้ และสามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้
หากผลเป็นลบ - แสดงว่ายังไม่เคยติดเชื้อ หรือเคยได้รับวัคซีนแล้ว หรืออาจเคยเป็นและหายแล้วและมีการได้รับภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ

Hepatitis B surface antibody (anti-HBs):
หากผลเป็นบวก+ แสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันจากไวรัสตับเสบบี ไม่ว่าจะเป็นภูมิที่เกิดจากธรรมชาติคือเริ่มจะหายจากตับอักเสบบี หรือภูมิที่ได้รับจากวัคซีน
หากผลเป็นลบ - แสดงว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือกำลังเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็ได้ ถ้าหาก HBsAg +

Total hepatitis B core antibody (anti-HBc):
หากผลเป็นบวก+ แสดงถึงว่าเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มาก่อน
หากผลเป็นลบ - แสดงถึงว่าไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มาก่อน

IgM antibody to hepatitis B core antigen (IgM anti-HBc):
หากผลเป็นบวก + แสดงว่า ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเฉียบพลัน เพิ่งจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีไม่เกิน 6 เดือน



การปฎิบัติตัวเบื้องต้นหากผลตรวจ มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ HBsAg positive +
- ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์
- ป้องการการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ทั้งทางเลือดเช่น การบริจาคเลือด ทางเพศสัมพันธ์ โดยการสวมถุงยางอนามัย
- ดูแลสุขภาพตับ เช่น ไม่กินเหล้า ไม่กินยาที่มีผลเสียต่อตับ
- รับการตรวจการทำงานของตับ  เพื่อดูว่าอักเสบมากน้อยเพียงใด

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

1 ตรวจร่างกายโดยแพทย์รวมทั้ง Vital sign
เพื่อให้คำแนะนำทั่วไปเช่น ลดน้ำหนัก เสียงหัวใจผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือไม่
2 Anti-HIV
ตรวจหาเชื้อ HIV  ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งสามารถติดต่อได้หลังการมีเพศสัมพันธ์ และถ่ายทอดสู่บุตร
3 CBC
ตรวจดูความสมบูรณ์ของเลือด โดยเฉพาะภาวะเลือดจาง
4 Hemoglobin typing
ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม
5 Blood group ABO/Rh
การตรวจหากรุ๊ปเลือกระบบ ABO และ Rh ซึ่งระบบเลือก Rh อาจมีผลต่อความผิดปกติของบุตรได้
6 HBsAg / Anti-HBs / +/- Anti Hbc
คือการตรวจการติดเชื้อ และภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ B เนื่องจากสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7  T. Pallidum Ab หรือ VDRL
ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์
8. (เฉพาะฝ่ายหญิง) Rubella IgG
คือการตรวจหาภูมิคุ้มกัน หัดเยอรมัน

ราคาโดยประมาณ
เพศชาย 2900- 3000 บาท
เพศหญิง 3300-3500 บาท
โรคพยาบาลเอกชนทั่วไปใน กรุงเทพ

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพประจำปี มีการตรวจอะไรบ้าง

ปกติการตรวจสุขภาพ จะทำเป็นประจำปี หรือ 2-3 ปีต่อครั้ง จะดูที่ปัจจับเสี่ยง ว่าจำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง แต่โดยทั่วไป โปรแกรมตรวจสุขภาพ รพ.ต่าง จะมีสิ่งที่จะตรวจดังนี้
1-4 เป็นพื้นฐาน ที่ควรจะทำทุกคน
5-14 เป็นการตรวจเพิ่มเติม
15 สำหรับผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีปัจจัยเสี่ยง หรือต้องการตรวจ
โปรดอย่าลืม การตรวจหลายรายการ แต่ละรายการจะต้องจ่ายเงินเพิ่มค่า LAB และบางรายการเบิกสิทธิ์ไม่ได้ (สำหรับบางคนที่ใช้สิทธิ์เบิกค่าตรวจร่างกาย)

  1. ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (General Physical Examination) ชั่งน้ำหนัก,วัดความดัน,ส่วนสูง,ชีพจร และคำนวณค่า BMI
  2. ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) เพื่อค้นหาภาวะโลหิตจาง รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด
  3. ตรวจปัสสาวะ (UA) เพื่อดูการติดเชื้อ,เนื้องอกของทางเดินปัสสาวะและ นิ่ว
  4. เอ็กซเรย์ทรวงอกฟิล์มใหญ่ (Chest X-ray) มีพาหะของโรคในสาธารณะ 25 %
  5. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน ความเสื่อมหน้าที่ของตับอ่อน
  6. ตรวจระดับไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride,HDL,LDL) เพื่อดูความเสี่ยงของไขมันในหลอดเลือด  
  7. ตรวจการทำงานของไต (BUN,Creatinine) เพื่อดูระดับของเสียที่ขับออกมาโดยไต
  8. ตรวจการทำงานของตับ (SGOT/SGPT,ALK) เพื่อดูการขับของเสียที่ออกมาจากตับ
  9. ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid) ค้นหาโรคเกาท์เพื่อดูแลเรื่องอาหาร
  10. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) อายุ 37 ปีขึ้นไปมีอัตราเสี่ยงเกิดความผิดปกติ
  11. ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (U/S Upper abdomen) เพื่อดูตับและถุงน้ำดีหรือรอยโรคในช่องท้อง
  12. ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (U/S Lower abdomen) เพื่อดูต่อมลูกหมาก
  13. ตรวจความเสี่ยงมะเร็งลำไส้และทางเดินอาหาร (CEA) เพื่อดูระดับความเสี่ยงก่อเกิดโรคมะเร็งลำไส้และทางเดินอาหาร
  14. ตรวจความเสี่ยงมะเร็งตับ (AFP) เพื่อดูระดับความเสี่ยงก่อเกิดโรคมะเร็งตับ
  15. ตรวจความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) เพื่อค้นหาความเสี่ยงของการก่อเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจสุขภาพ ดีมั้ย

ตรวจสุขภาพ จำเป็นหรือไม่
การตรวจสุขภาพ จำเป็นสำหรับบางคน ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนที่สุขภาพแข็งแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ อีกทั้งส่วนมากจะเริ่มตรวจสุขภาพประจำปี กันเมื่ออายุถึงกำหนด โดยส่วนมากเมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น จึงสมควรได้รับการตรวจสุขภาพบ้างเพื่อเป็นการ check up ร่างกายตนเอง

การตรวจสุขภาพประจำปี จะประกอบไปด้วย การตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือดและอื่นๆ ตามความเหมาะสม และปัจจัยเสี่ยง